วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แหล่งน้ำธรรมชาต


แหล่งน้ำ
น้ำฝนเป็นต้นกำเนิดของน้ำที่ปรากฏบนผิวโลก เมื่อฝนตกลงมาบนพื้นดิน จะมีน้ำบางส่วนขังอยู่บนผิวดิน
และบางส่วนซึมลงไปสะสมอยู่ในดิน ทำให้เกิดเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติในดินที่อำนวยประโยชน์ให้แก่พืชได้โดยตรง
เมื่อมีฝนตกมาก น้ำไม่สามารถจะขังอยู่ได้บนผิวดิน และซึมลงไปในดินได้ทั้งหมดก็จะเกิดเป็นน้ำไหลนองไปบนผิวดิน
จากนั้นจะไหลลงสู่ที่ลุ่ม ที่ต่ำ ลำน้ำ ลำธาร แม่น้ำ แล้วจึงไหลลงสู่ทะเลและมหาสมุทรต่อไปน้ำในดินและน้ำที่ขังอยู่บนผิวดินที่ได้มาจากฝน
โดยตรงนั้นจะมีอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอได้ก็ต้องอาศัยจากฝน ที่ตกลงมาอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน
ากฝนไม่ตกก็จำเป็นต้องมีน้ำจากแหล่งน้ำอื่นมาเพิ่มเติมให้โดยธรรมชาติ หรือโดยวิธีการชลประ-ทาน
พืชจึงจะมีน้ำใช้อย่างเพียงพอกับความต้องการ แหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการชลประทาน ได้แก่ แหล่งน้ำบนผิวดิน
และแหล่งน้ำใต้ผิวดิน แม่น้ำลำธาร ห้วย หนอง คลองและบึง ฯลฯ เป็นแหล่งน้ำบนผิวดิน เป็นแหล่งรวบรวมน้ำตามธรรมชาติ
ซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากน้ำที่ไหลมาบนผิวดิน และบางส่วนซึมออกมาจากดินเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ที่จะอำนวยให้ทำการชลประ-ทานขนาดต่างๆได้เป็นอย่างดี ปริมาณน้ำที่จะมีในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำธารนั้น
ย่อมแตกต่างกันไปตามฤดูกาลทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่ามีฝนตกในเขตของลุ่มน้ำนั้นหรือไม่ หรือว่าตกจำนวนมากน้อยเพียงไร
บางวันอาจมีน้ำไหลมาในลำน้ำมาก เพราะเกิดฝนตกหนัก และอาจมีระดับสูงไหลล้นเข้าไปท่วมเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูกได้เองตาม
ธรรมชาติ ส่วนในระยะฤดูแล้งไม่มีฝนตกเลย น้ำในแหล่งน้ำประเภทบ่อหนองและบึง ซึ่งได้เก็บน้ำในช่วงฤดูฝนไว้นั้น
อาจมีน้ำให้ใช้พอบรรเทาความเดือดร้อนได้บ้าง แต่น้ำในแม่น้ำ ลำธาร และห้วยบางแห่งอาจมีน้ำไหลลดน้อยลงไปหรือไม่มีเลยก็ได้
การจัดทำโครงการชลประทานได้นั้น จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำ เพื่อให้เป็นต้นน้ำของโครงการชลประทาน ถ้าพื้นที่เพาะปลูก
ไม่มีแหล่งน้ำใดๆให้นำมาใช้ได้ ก็ไม่สามารถทำการชลประทานช่วยเหลือได้ หรือแหล่งน้ำมีปริมาณน้อย
ก็ย่อมช่วยเหลือพื้นที่ได้น้อยด้วยเช่นกัน ในการวางโครงการชลประทาน โดยใช้น้ำจากแม่น้ำลำธาร ห้วย หนอง คลอง และบึง ฯลฯ
นั้น จำเป็นต้องรวบรวมสถิติ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำของแหล่งน้ำนั้นๆ ให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน
เพื่อประกอบการพิจารณาและการตัดสินใจในการวางรูปงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เช่น จำเป็นต้องยกน้ำจากแหล่งน้ำนั้นหรือไม่
หรือจะต้องยกน้ำให้มีระดับสูงด้วยวิธีใดจึงจะเหมาะสม จำเป็นต้องสร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อทำให้เป็นแหล่งน้ำที่ถาวรด้วยหรือไม่
ตลอดจนการกำหนดขนาดของพื้นที่เพาะปลูกที่จะรับน้ำชลประทานให้พอเหมาะกับจำนวนน้ำของแหล่งน้ำที่มีอยู่ทั้งหมด เป็นต้น แหล่งน้ำ
ธรรมชาติอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งให้น้ำสำหรับทำการชลประทานได้ คือ แหล่งน้ำใต้ผิวดินในท้องที่ซึ่งไม่มีแหล่งน้ำบนผิวดินนั้น
มนุษย์รู้จักการนำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ผิวดินขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับการอุปโภคบริโภค และสำหรับใช้เพาะปลูกมาตั้งแต่
สมัยโบราณแล้ว น้ำที่มีอยู่ใต้ผิวดิน ได้มาจากน้ำฝนที่ตกแล้วซึมผ่านลงไปสะสมอยู่ในช่องว่างของชั้นดิน ทราย และกรวด
ตลอดจนรอยแตกและโพรงของหินที่อยู่ใต้ผิวดินนั้น เมื่อขุดบ่อลงไปจนถึงชั้นที่มีน้ำสะสมอยู่ เช่น ชั้นทรายและกรวด
ซึ่งน้ำไหลผ่านได้ดี เวลาใดที่นำน้ำขึ้นไปใช้ ทำให้ระดับน้ำในบ่อลดลง ก็จะมีน้ำไหลเข้ามาแทนที่อยู่เสมอ
บ่อน้ำที่ใช้สำหรับการชลประทานจะมีขนาดที่เหมาะสมอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของชั้นทรายหรือชั้นกรวดที่เป็นแหล่งสะสมน้ำ
และปริมาณน้ำที่ต้องการใช้งานเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วบ่อน้ำใต้ดินแห่งหนึ่งๆจะช่วยพื้นที่เพาะปลูกได้

http://guru.sanook.com

แหล่งน้ำใต้ผิวดิน
แหล่งน้ำธรรมชาติอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งให้น้ำสำหรับทำการชลประทานได้ คือ แหล่งน้ำใต้ผิวดิน ในท้องที่ซึ่งไม่มีแหล่งน้ำบนผิวดินนั้น มนุษย์รู้จักการนำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ผิวดินขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ สำหรับการอุปโภค บริโภค และสำหรับใช้เพาะปลูกมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
น้ำที่มีอยู่ใต้ผิวดิน คือ น้ำที่ได้มาจากน้ำฝนที่ตก แล้วซึมผ่านลงไปสะสมอยู่ในช่องว่างของดิน ทราย และกรวด ตลอดจนรอยแตกและโพรงของหินที่อยู่ใต้ผิวดินนั้น เมื่อขุดบ่อลงไปจนถึงชั้นที่มีน้ำสะสมอยู่ เช่น ชั้นทราย และกรวด ซึ่งน้ำไหลผ่านได้ดี เวลาใดที่นำน้ำขึ้นไปใช้ทำให้น้ำในบ่อลดลง ก็จะมีน้ำไหลเข้ามาแทนที่อยู่เสมอ บ่อน้ำที่ใช้สำหรับการชลประทานจะมีขนาดที่เหมาะสมอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของชั้นทราย หรือชั้นกรวดที่เป็นแหล่งสะสมน้ำ และปริมาณน้ำที่ต้องการใช้เป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วบ่อน้ำใต้ดินแห่งหนึ่ง ๆ จะช่วยพื้นที่เพาะปลูกได้จำนวนไม่มากนัก
แหล่งน้ำที่สะสมอยู่ใต้ดินที่สำคัญมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. แหล่งน้ำที่ขังอยู่ในช่องว่างของดิน โดยมีผิวน้ำใต้ดินสัมผัสกับบรรยากาศ แหล่งน้ำใต้ผิวดินประเภทนี้มักเป็นน้ำขังอยู่ในดินชั้นแรก ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากน้ำบนผิวดินซึมลงไปสะสมอยู่เต็มในช่องว่างของดิน ทราย และกรวดโดยตรง จำนวนน้ำในชั้นดินดังกล่าว สามารถไหลถ่ายเทได้อย่างอิสระเมื่อชั้นผิวน้ำใต้ดินนั้นมีความลาดเอียง บ่อน้ำตื้นสำหรับใช้อุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งนี้
2. แหล่งน้ำบาดาล เป็นแหล่งน้ำในชั้นทรายและกรวด ในช่องว่างหรือรอยแตกแยกของหิน ซึ่งอยู่ภายใต้ชั้นดินปิดทับด้านบน แหล่งน้ำบาดาลเกิดจากน้ำบนผิวดิน ได้แก่ น้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ฯลฯ ไหลซึมผ่านชั้นดินลงไปเก็บกักอยู่ในชั้นทราย กรวด หรือรอยแตกของหินดังกล่าว น้ำในแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะถูกสะสมอยู่ภายใต้แรงดัน ซึ่งน้ำในบ่อที่เจาะส่วนใหญ่จะมีระดับสูงขึ้นมาใกล้กับผิวดิน หรือบางแห่งอาจล้นปากบ่อขึ้นมาเองก็ได้
การเจาะบ่อเพื่อนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภค และเพื่ออุตสาหกรรม ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร และบริเวณใกล้เคียง แต่สำหรับเพื่อการเพาะปลูกแล้ว ถ้าชั้นน้ำบาดาลอยู่ลึกจากผิวดินไม่มาก ราษฎรมักนิยมเจาะบ่อน้ำบาดาลระดับตื้นประเภทบ่อตอก โดยใช้ท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 2 - 4 นิ้ว เจาะลงไปจนถึงชั้นทรายและกรวด เช่น ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน และในบริเวณพื้นที่ราบภาคกลางตอนบน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร สุโขทัย และพิษณุโลก เป็นต้น


http://guru.sanook.com

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เป็นการจัดหาและนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ที่สำคัญได้แก่น้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ ในบรรดางานพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อนำน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการด้านต่างๆนั้น งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรจัดว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์มากอย่างยิ่งในการช่วยให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลิตผลเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบัน มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมากตามภาคต่างๆ ส่วนใหญ่ยังคงอาศัยน้ำฝนและใช้น้ำจากแม่น้ำลำธารตามที่มีเป็นหลัก เนื่องจากไม่มีงานพัฒนาแหล่งน้ำช่วยเหลือ ปีใดที่มีฝนตกโดยเฉลี่ยดีตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ก็จะทำให้การเพาะปลูกในปีนั้นได้รับผลดีตามไปด้วย แต่ถ้าหากปีใดมีฝนตกน้อยหรือไม่มีฝนตกในเวลาที่พืชต้องการ การเพาะปลูกในปีนั้นก็จะได้รับความเสียหายหรือไม่ได้รับผลิตผลดีเท่าที่ควร เป็นเหตุให้เกษตรกรในหลายท้องที่ต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่มีน้ำสำหรับทำนา ปลูกพืชไร่ และใช้เลี้ยงสัตว์ อยู่เสมอทุกปี ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรท้องที่ต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประจำทุกปีนั้น ทำให้ทรงทราบถึงสาเหตุแห่งความยากจนของราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการทำมาหากินในท้องถิ่นทุรกันดารหรือตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลความเจริญว่า ราษฎรส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชาวไร่ชาวนามักประสบปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำกินและน้ำใช้เพื่อการเกษตร จึงไม่สามารถประกอบอาชีพทางการเกษตรให้ได้ผลตามที่มุ่งหมาย ทำให้ราษฎรซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่ในท้องถิ่นห่างไกลเหล่านั้นมีแต่ความยากจน และขาดแคลนอาหารสำหรับบริโภค ด้วยเหตุนี้ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรตามหมู่บ้านต่างๆ ทุกครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงสอบถามข้อมูลจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จฯ ถึงเรื่องเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ สภาพการทำนา และการเพาะปลูกอย่างอื่น สภาพฝนและแหล่งน้ำธรรมชาติในบริเวณนั้นมีเพียงพอใช้หรือขาดแคลนเป็นประการใดบ้าง เพื่อประกอบพระราชดำริเมื่อทรงศึกษาข้อมูลจากราษฎรอย่างละเอียดแล้วถ้าปรากฏว่าสภาพภูมิประเทศและแหล่งน้ำธรรมชาติของบริเวณหมู่บ้านและตำบลใด พอมีลู่ทางก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมขึ้นได้ ก็จะพระราชทานแนวพระราชดำริกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้นำไปพิจารณาความเหมาะสมก่อนวางโครงการในขั้นรายละเอียด และดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ จนถึงการก่อสร้างต่อไป


http://guru.sanook.com/

ทรัพยากรน้ำ หมายถึง แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้นจะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งในรูปของ
ธารน้ำแข็งและน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า "สิทธิการใช้น้ำ" (Water rights)

น้ำผิวดิน


ทะเลสาบชันการาในประเทศชิลีตอนเหนือ
น้ำผิวดินได้แก่น้ำในแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็น
น้ำจืด ปกติน้ำผิวดินจะได้รับการเติมจากฝนหรือหิมะ และจะหายไปตามธรรมชาติด้วยการะเหย การไหลออกสู่ทะเลและการซึมลงไปใต้ดิน
แม้ว่าการเติมน้ำจืดโดยธรรมชาติของระบบน้ำผิวดินจะได้จากการตกของ
ฝนหรือหิมะลงเฉพาะบนบริเวณลุ่มน้ำนั้นๆ ณ เวลาหนึ่งก็ตาม แต่ปริมาณรวมของน้ำยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงปริมาณความจุของทะเลสาบ พื้นที่ชุ่มน้ำและอ่างเก็บน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น อัตราการซึมของดินในพื้นที่กักเก็บต่างๆ ดังกล่าว ลักษณะของการไหลตามผิวพื้นของลุ่มน้ำ ช่วงเวลาการตกของฝนหรือหิมะและอัตราการระเหยของพื้นที่นั้นๆ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อสัดส่วนของน้ำที่ไหลออกสู่ทะเล ระเหยและซึมลงใต้ดิน
กิจกรรมของมนุษย์สามารถสร้างผลกระทบต่อปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวได้มาก มนุษย์มักเพิ่มความจุน้ำเก็บกักด้วยการสร้าง
อ่างเก็บน้ำและลดความจุน้ำเก็บกักด้วยการระบายพื้นที่ชุ่มน้ำให้แห้ง มนุษย์เพิ่มปริมาณและความเร็วไหลตามผิวของน้ำด้วยการดาดผิวพื้นต่างๆ ให้แข็งรวมทั้งการทำทางให้น้ำไหลทิ้งไปรวดเร็วขึ้น
ปริมาณโดยรวมของน้ำที่มีให้ใช้ ณ เวลาหนึ่งนับเป็นข้อพิจารณาที่มีความสำคัญมาก การใช้น้ำบางประเภทของมนุษย์เป็นการใช้แบบหยุดๆ เดินๆ ตัวอย่างเช่น การทำ
เกษตรกรรมหลายแห่งต้องการน้ำเป็นปริมาณมากในช่วงฤดูเพาะปลูก และไม่ใช้น้ำอีกเลยหลังฤดูเก็บเกี่ยว การจ่ายน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรมประเภทดังกล่าว ระบบน้ำผิวดินเพื่อการนี้อาจต้องมีขนาดการเก็บกักที่ใหญ่เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งปีไว้ สำหรับปล่อยมาใช้ภายเวลาที่สั้นเป็นต้น การใช้น้ำประเภทที่ค่อยๆ ใช้ในปริมาณครั้งละไม่มากแต่สม่ำเสมอทั้งปี เช่นน้ำสำหรับหล่อเย็นในโรงผลิตไฟฟ้า การจ่ายน้ำในกรณีนี้ ระบบน้ำผิวดินต้องการเพียงอ่างหรือแหล่งกักเก็บที่มีความจุให้พอสำหรับไว้ชดเชยน้ำในลำธารที่มีอัตราการไหลเข้าอ่างในฤดูแล้งต่ำกว่าอัตราการใช้น้ำในการหล่อเย็น
น้ำผิวดินตามธรรมชาติสามารถเพิ่มพูนได้โดยการนำน้ำเข้ามาจากแหล่งในลุ่มน้ำอื่นด้วยการขุด
คลองส่งน้ำหรือวางท่อส่งน้ำ หรืออาจทำด้วยวิธีอื่นๆ แต่ก็ได้ไม่มาก มนุษย์เรามีส่วนทำให้ระบบน้ำผิวดินไม่มั่นคงหรือ "หายไป" จากการสร้างมลพิษ
บราซิลเป็นประเทศที่ประมาณกันว่ามีแหล่งน้ำจืดมากที่สุดในโลกตามด้วยแคนาดาและรัสเซีย[4]
น้ำใต้ผิวดิน
อัตราความเร็วการไหลของน้ำใต้ดิน
น้ำใต้ผิวดินหรือน้ำใต้ดินหมายถึงน้ำจืดที่ขังอยู่ในช่องว่างของดินหรือหิน และยังหมายถึงน้ำที่ไหลอยู่ภายใน
ชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำ (Aquifer) ซึ่งอยู่ตำกว่าระดับน้ำใต้ดิน (water table) ในบางครั้งก็มีประโยชน์ที่จะแยกให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง น้ำใต้ผิวดินที่อยู่ใกล้และสัมพันธ์กับน้ำผิวดิน กับ น้ำผิวดินที่สัมพันธ์กับน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ลึกมากในชั้นหินอุ้มน้ำ บางครั้งก็เรียกน้ำชนิดนี้ว่า "น้ำซากดึกดำบรรพ์" (Fossil water)
น้ำใต้ผิวดินอาจคิดเชิงคำศัพท์เห้หมือนน้ำผิวดินก็ได้ นั่นคือ
การรับเข้า (inputs) การปล่อยออก (outputs) และการเก็บกัก (storage) นัยสำคัญของความแตกต่างก็คือ: ในแง่ของน้ำใต้ผิวดิน ที่เก็บกักมักมีขนาดใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการรับเข้า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำผิวดินที่มีขนาดเก็บกักเล็กแต่มีขนาดการรับเข้ามากกว่า ข้อแตกต่างนี้เองที่ทำให้มนุษย์สามารถใช้น้ำใต้ดินได้มากมาย (แบบไม่ยั่งยืน) ได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกถึงผลกระทบที่รุนแรง แต่ถึงกระนั้น ในระยะยาว ในที่สุดอัตราเฉลี่ยของการซึมซับของแหล่งน้ำผิวดินที่ไหลลงใต้ดิน ย่อมจะต้องช้ากว่าอัตราการสูบออกไปใช้โดยมนุษย์
การรับเข้าตามธรรมชาติของน้ำใต้ดินเกิดจากการไหลซึมลงชั้นใต้ดินของน้ำผิวดิน การปล่อยออกตามธรรมชาติของน้ำใต้ดินที่เกินขนาดที่เก็บกักคือน้ำพุธรรมชาติและการไหลซึมออกสู่ทะเล
ถ้าแหล่งน้ำผิวดินมีปัญหาด้านอัตราการระเหย แหล่งน้ำใต้ดินอาจกลายเป็น
น้ำเค็มได้ สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการไหลลงแอ่งต่ำใต้ดินเองหรือเกิดจากฝีมือการชลประทานเพื่อการเกษตรกรรมของมนุษย์ ในพื้นที่แถบชายฝั่งทะเล การใช้แหล่งน้ำใต้ดินของมนุษย์เองอาจเป็นเหตุให้การไหลออกทะเลโดยธรรมชาติของน้ำใต้ดินที่เป็นน้ำจืดหยุดลงและเกิดการไหลย้อนของน้ำเค็มสวนเข้าตามทางน้ำจืดเดิมก่อให้เกิดน้ำใต้ดินที่มีความเค็มได้ มนุษย์สามารถทำให้น้ำใต้ดินให้ "หาย" ไปได้ (เช่น การขาดเสถียรภาพ) เนื่องจากมลพิษ ในขณะเดียวกัน มนุษย์ก็สามารถเพิ่มการรับเข้าของน้ำใต้ดินได้ด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือแก้มลิง
น้ำในดินมีลักษณะเป็นส่วนๆ เรียกว่า
ชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาจะถูกซึมซับและไหลมารวมกันที่นี่ ปกติองค์ประกอบของมันน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำจะอยู่ในสภาวะที่เกือบเป็นการ "สมดุลอุทกสถิต" (Hydrostatic equilibrium) องค์ประกอบของน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับขนาดของช่องหรือรูพรุนของหิน ซึ่งหมายความว่าอัตราการดึงหรือสูบน้ำออกมาใช้จะถูกจำกัดด้วยอัตราการซึมผ่านที่เลว
การกำจัดความเค็ม
การกำจัดความเค็ม คือกระบวนการเทียมในการทำให้น้ำเค็ม (ส่วนใหญ่คือน้ำทะเล) เปลี่ยนเป็นน้ำจืด กระบวนการกำจัดความเค็มที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ วิธีการกลั่น (distillation) และ วิธีออสโมซิสผันกลับ (reverse osmosis) การกำจัดความเค็มสำหรับการสร้างแหล่งน้ำใช้ ในปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายที่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น การใช้น้ำด้วยวิธีกำจัดความเค็มของน้ำทะเลของมวลมนุษย์ในขณะนี้จึงมีสัดส่วนเศษส่วนเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับแหล่งน้ำที่ใช้วิธีการอื่น ดังนั้น การทำแหล่งน้ำโดยวิธีกำจัดความเค็มจึงมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้งและจำกัดการใช้เฉพาะการบริโภคในครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ปัจจุบัน การผลิตแหล่งน้ำโดยวิธีนี้มากที่สุดได้แก่ประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย

http://th.wikipedia.org/wiki/

แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ
จังหวัดหนองบัวลำภู ขาดแคลนน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีอยู่จะเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็ก ลำห้วยสายสั้น ๆ หนอง และแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลำพะเนียง ลำน้ำมอ ลำน้ำพวย ลำน้ำโมง ลำห้วยเดื่อ ลำห้วยโป่งแค ลำห้วยยาง ลำห้วยส้มป่อย ลำห้วยดาน ลำห้วยโค่โล่ จำแนกตามเขตลุ่มน้ำและลักษณะได้ดังนี้.-
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ พื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูทั้งหมดอยู่ในเขตลุ่มน้ำใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ลุ่มน้ำด้วยกัน คือ
- เขตลุ่มน้ำชี ได้แก่ พื้นที่ในเขตอำเภอโนนสัง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอนากลางบางส่วน
- เขตลุ่มน้ำโขง ได้แก่ พื้นที่ในเขต อำเภอเมือง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอนากลางบางส่วน
นอกจากนี้ยังมีบึงและหนองน้ำธรรมชาติ กระจัดกระจายอยู่ในตอนล่างของจังหวัดโดยเฉพาะในเขตอำเภอโนนสัง
ความสัมพันธ์ระหว่างลุ่มน้ำจังหวัดหนองบัวลำภูกับลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำชี
เขตลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำในจังหวัดหนองบัวลำภูทางด้านตะวันออกเชื่อมโยงกับลุ่มน้ำโขง ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 ลุ่มน้ำ ในปัจจุบันยังไม่ได้จัดระบบลุ่มน้ำเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ในการพัฒนาในอนาคตการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างลุ่มน้ำโขงและ 5 ลุ่มน้ำเป็นแนวทางที่จะนำน้ำโขงมาใช้เพื่อการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะได้มีการศึกษาและวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ลุ่มน้ำ 5 ลุ่มน้ำดังกล่าวได้แก่ ลุ่มน้ำห้วยโมง ลุ่มน้ำห้วยโค่โล่ ลุ่มน้ำห้วยบน ลุ่มน้ำห้วยคะนาน และลุ่มน้ำห้วยหลวง ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอสุวรรณคูหา และบางส่วนของอำเภอเมืองกับอำเภอนากลาง
เขตลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำในจังหวัดหนองบัวลำภู ทางด้านใต้เชื่อมโยงกับลุ่มน้ำชี ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 ลุ่มน้ำ ในปัจจุบันยังไม่ได้รับการพัฒนาเชื่อมโยงระหว่างลุ่มน้ำจังหวัดหนองบัวลำภูและลุ่มน้ำชี เนื่องจากจะต้องเกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำในจังหวัดใกล้เคียงหลายจังหวัด และถ้าหากมีการเชื่อมโยงระหว่างลุ่มน้ำจังหวัดหนองบัวลำภูและลุ่มน้ำชีจะทำให้เกิดการพัฒนาได้รับประโยชน์ในจังหวัดใกล้เคียงหลายจังหวัด ซึ่งจะได้มีการวางแผนร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอนาคต ลุ่มน้ำ 6 ลุ่มน้ำดังกล่าวได้แก่ ลุ่มน้ำห้วยพะเนียง ลุ่มน้ำพวย ลุ่มน้ำพอง ลุ่มน้ำมอ ลุ่มน้ำห้วยโซม และลุ่มน้ำห้วยเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอโนนสัง อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอนาวัง และบางส่วนของอำเภอเมืองกับอำเภอนากลาง
การพัฒนาลุ่มน้ำจังหวัดหนองบัวลำภู แบ่งออกเป็น 11 ลุ่มน้ำ
ลุ่มน้ำที่ 1 ลุ่มน้ำห้วยพะเนียง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ไหลจากทิศเหนือของจังหวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไหลผ่านอำเภอนาวัง อำเภอนากลาง อำเภอเมือง อำเภอโนนสังและอำเภอศรีบุญเรืองแล้วไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,847 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 116 ลำห้วย ระยะทาง 879.50 กม.
ลุ่มน้ำที่ 2 ลุ่มน้ำพวย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ไหลจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ผ่านอำเภอผาขาวในจังหวัดเลย และอำเภอศรีบุญเรืองจังหวัดหนองบัวลำภูลงสู่ลำน้ำพอง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 875 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 51 ลำห้วย ระยะทาง 223.30 กม.
ลุ่มน้ำที่ 3 ลุ่มน้ำพอง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขารอยต่อระหว่างอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย กับอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น ไหลผ่าน อำเภอศรีบุญเรือง และ อำเภอโนนสัง แล้วไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 370 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 116 ลำห้วย ระยะทาง 879.50 กม. ประกอบด้วยลำห้วย 14 ลำห้วย ระยะทาง 162.3 กม.
ลุ่มน้ำที่ 4 ลุ่มน้ำมอ มีต้นกำเนิดจากแนวสันเขาบริเวณตอนใต้ของอำเภอนากลาง และแนวสันเขาด้านตะวันตกของอำเภอเมือง ไหลผ่าน อำเภอศรีบุญเรือง ลงสู่ลำน้ำพอง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 360 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 47 ลำห้วย ระยะทาง 628.10 กม.
ลุ่มน้ำที่ 5 ลุ่มน้ำห้วยโซม มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบริเวณตอนใต้ของ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ไหลผ่าน อำเภอโนนสัง ลงสู่ลำน้ำพอง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 312 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 20 ลำห้วย ระยะทาง 179 กม.
ลุ่มน้ำที่ 6 ลุ่มน้ำห้วยเดื่อ เป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำพะเนียง มีต้นกำเนิดจากแนวสันเขาในเขต อำเภอนาวัง และ อำเภอนากลาง ของจังหวัดหนองบัวลำภู ไหลผ่าน อำเภอนากลาง ลงสู่ลำพะเนียง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 82 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 3 ลำห้วย ระยะทาง 46.10 กม.
ลุ่มน้ำที่ 7 ลุ่มน้ำห้วยโมง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขารอยต่ออำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู กับ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ไหลผ่านอำเภอสุวรรณคูหาไปทางตะวันออกของจังหวัดหนองบัวลำภู ออกสู่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 237 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 4 ลำห้วย ระยะทาง 74.35 กม.
ลุ่มน้ำที่ 8 ลุ่มน้ำห้วยโค่โล่ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอนาด้วง จ.เลย ไหลผ่านตอน บนของอำเภอนากลาง อำเภอสุวรรณคูหาในจังหวัดหนองบัวลำภู แล้วไหลลงสู่ลำห้วยโมง ซึ่งไหลผ่านจังหวัดอุดรธานีทางอำเภอบ้านผือ มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 173 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 116 ลำห้วย ระยะทาง 879.50 กม. ประกอบด้วยลำห้วย 14 ลำห้วย ระยะทาง 93.30 กม.
ลุ่มน้ำที่ 9 ลุ่มน้ำห้วยบน มีต้นกำเนิดจากแนวสันเขาในเขตอำเภอนากลาง และอำเภอเมืองในจังหวัดหนองบัวลำภู ไหลผ่านอำเภอเมือง อำเภอนากลาง และอำเภอสุวรรณคูหา ลงสู่ลำห้วยโมง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 566 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 46 ลำห้วย ระยะทาง 235.10 กม.
ลุ่มน้ำที่ 10 ลุ่มน้ำห้วยคะนาน มีต้นกำเนิดจากแนวสันเขารอยต่อในจังหวัดอุดรธานีกับแนวสันเขาด้านทิศเหนือของจังหวัดหนองบัวลำภู ไหลผ่านอำเภอสุวรรณคูหา ลงสู่ห้วยโมง ณ บริเวณเดียวกับลำห้วยบน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 342 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 8 ลำห้วย ระยะทาง 126.90 กม.
ลุ่มน้ำที่ 11 ลุ่มน้ำห้วยหลวง มีต้นกำเนิดจากแนวสันเขารอยต่อระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กับอำเภอหนองวัวซอจังหวัดอุดรธานี ไหลผ่าน อำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู ลงสู่อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 109 ตร.กม. ประกอบด้วยลำห้วย 3 ลำห้วย ระยะทาง 16.20 กม.
2. แหล่งน้ำชลประทาน จังหวัดหนองบัวลำภู มีแหล่งน้ำชลประทานที่ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้วจนถึงปี 2543 รวมทั้งสิ้น 3,951 โครงการ ซึ่งในจำนวนนี้มีโครงการชลประทานขนาดกลางเพียง 1 โครงการเท่านั้น คือ อ่างเก็บน้ำห้วยเหล่ายาง บ้านภูพานทอง ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง ซึ่งมีขนาดความจุประมาณ 2.14 ล้านลูกบาศก์เมตรและมีพื้นที่รับประโยชน์รวมกันประมาณ 2,000 ไร่ และโครงการที่เหลืออื่น ๆ จะเป็นโครงการขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดความจุรวมกันประมาณ 59,399,832 ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์รวมกันประมาณ 63,391 ไร่
3. น้ำอุปโภคบริโภค
ในปี 2542 จังหวัดหนองบัวลำภู มีประชากรในเขตเมือง (เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู) 21,542 คน มีความต้องการน้ำกินและน้ำใช้ ในเขตเมืองประมาณ 107,710 ลิตร และ 4,308,400 ลิตร และประชากรนอกเขตเมือง 473,505 คน มีความต้องการน้ำกินและน้ำใช้นอกเขตเมืองประมาณ 2,367,525 ลิตร และ 21,307,725 ลิตร ตามลำดับ
4. น้ำเพื่อการเกษตร
แหล่งน้ำที่ประชาชนชาวจังหวัดหนองบัวลำภูใช้เพื่อการเกษตร ส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้น เช่น อ่างฯเก็บน้ำ ลำห้วย หนองน้ำ สระน้ำ ฝาย ทำนบ คลองส่งน้ำชลประทาน และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ฯลฯ
http://irrigation.rid.go.th/

แหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติ
แหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง และทะเลสาบ ซึ่งเมื่อพิจารณาในภาพรวมของทั้งประเทศแล้วสามารถแบ่ง พื้นที่ของประเทศออกเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ
พื้นที่ลุ่มน้ำ หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่ครอบคลุมลำน้ำธรรมชาติตอนใดตอนหนึ่งเหนือจุดที่กำหนดในลำน้ำนั้นทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมน้ำทั้งที่ไหลลงมาบนผิวดินและที่ซึมออกจากดินให้ระบายลงสู่ลำ น้ำและไหลไปยังจุดที่กำหนดพื้นที่ลุ่มน้ำจึงเปรียบเสมือนหลังคาบ้านรองรับน้ำฝน และลำเลียงน้ำลงสู่รางน้ำเพื่อให้ไหลลงสู่ภาชนะเก็บกัก (ปราโมทย์ ไม้กลัด, 2539: 3) การแบ่งลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำย่อย
สถาบันอุทกวิทยาแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานข้อมูล ได้ดำเนินการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ (Watershed Boundary) โดยอาศัยแผนที่ขนาดมาตราส่วน 1: 500,000 และแม่น้ำสายหลักหรือลักษณะของพื้นที่เป็นหลักในการกำหนด ขอบเขตลุ่มน้ำรวมทั้งเป็นหลักในการเรียกชื่อลุ่มน้ำ ซึ่งได้กำหนดลุ่มน้ำหลักของประเทศไทยออกเป็น 25 ลุ่มน้ำ ในแต่ละลุ่มน้ำหลัก ยังแบ่งออกเป็นลุ่มน้ำสาขา ซึ่งนับรวมจำนวนทั้งหมดเป็น 256 ลุ่มน้ำสาขา
เมื่อพิจารณาเป็นรายลุ่มน้ำ พบว่า ลุ่มน้ำที่มีขนาดเล็กมีพื้นที่ลุ่มน้ำไม่ถึง 5,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ โตนเลสาบและ ลุ่มน้ำปัตตานี ลุ่มน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้แก่ ลุ่มน้ำมูล ซึ่งมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 69,700 ตารางกิโลเมตร

25. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
21,172
รวมพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด
512,066


รูปแสดงพื้นที่ 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ
ในปัจจุบันได้มีการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทยเพื่อให้การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ลุ่มน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดชั้นคุณภาพของลุ่มน้ำได้กำหนดจากปัจจัยด้านกายภาพ ซึ่งมีผลต่อกระบวนการทางอุทกวิทยาและมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงได้ยากรวม 6 ประการ คือ 1. สภาพภูมิประเทศ 2. ระดับความลาดชัน 3. ความสูงจากระดับน้ำทะเล 4. ลักษณะทางธรณีวิทยา 5. ลักษณะทางปฐพีวิทยา 6. สภาพป่าไม้ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน
พื้นที่ทั้งหมดของลุ่มน้ำถูกจำแนกออกเป็น 5 ระดับชั้นคุณภาพตามลำดับความสำคัญในการควบคุมระบบนิเวศน์ของลุ่มน้ำ

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 หมายถึง พื้นที่ภายในลุ่มน้ำที่ควรจะต้องสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ เนื่องจากมี ลักษณะและสมบัติที่อาจมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรงแบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้นย่อย คือ
ก. พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ที่ยังคงมีสภาพป่าสมบูรณ์ปรากฏอยู่ในปี
พ.ศ. 2525 ซึ่ง จำเป็นต้องสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและเป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ
ข. พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี หมายถึง พื้นที่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ซึ่งสภาพป่าส่วนใหญ่ในพื้นที่ได้ถูกทำลาย
ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงไปเพื่อพัฒนาการใช้ที่ดินรูปแบบอื่น ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2525

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 หมายถึง พื้นที่ภายในลุ่มน้ำซึ่งมีค่าดัชนีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่คำนวณได้จากสมการอยู่ระหว่าง 1.5 ถึงน้อยกว่า 2.21 โดยลักษณะทั่วไปมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองลงมา และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อกิจการที่สำคัญได้ เช่น การทำเหมืองแร่ เป็นต้น

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3 หมายถึง พื้นที่ภายในลุ่มน้ำ ซึ่งมีค่าดัชนีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่คำนวณได้จากสมการอยู่ระหว่าง 2.21 ถึงน้อยกว่า 3.20 และพื้นที่โดยทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกิจการทำไม้ เหมืองแร่ และปลูกพืชกสิกรรมประเภทไม้ยืนต้น

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 4 หมายถึง พื้นที่ภายในลุ่มน้ำ ซึ่งมีค่าดัชนีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่คำนวณได้จากสมการอยู่ระหว่าง 3.20 ถึงน้อยกว่า 3.99 และสภาพป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางเป็นที่ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการพืชไร่เป็นส่วนมาก

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 5 หมายถึง พื้นที่ภายในลุ่มน้ำ ซึ่งมีค่าดัชนีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำมากกว่า 3.99 ขึ้นไป ลักษณะโดยทั่วไปเป็น ที่ราบหรือที่ลุ่ม หรือเนินลาดเอียงเล็กน้อย และส่วนใหญ่ ป่าไม้ได้ถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะทำนา และกิจการอื่นๆ ไปแล้ว